Saturday, September 17, 2011

U.S. Education & Thai Education: How do they compare? Part 1.1

     First of all, I would like to thank Adam Wes (@AdamWesTutors on Twitter) for asking us about the education system in Thailand compared to our U.S. education system.
     Like I said before, where do we start? There are many differences and yet there are some similarities.
     To make it easier for my audience in America to understand a foreign education system (in this case, a Thai system) so they will be able to compare it to what they know and experience in America, I will divide this topic into two parts.
     The first part detailed below will discuss about the classroom and school culture in Thailand. Comparative information will be given where necessary. The second part which is to follow will involve the culture of tutoring in Thailand. This is going to be a series of blog posts or the article will be way too long even for the first part--let alone the two parts combined.
     The Thai education system is divided into elementary (grades 1-6), secondary (grades 7-12), and college levels. In this post, I’m just going to focus on schools in Bangkok. I’m not focusing on higher education in this post either. But I may mention about it if relevant.
     Like many countries, Thailand has both private and public school systems. Actually, there is also a third group of schools in Thailand known as international schools.
     The Thai private and public schools adopt the curricula set by the Ministry of Education. On the other hand, the international schools have their own curricula and standards, depending on their affiliation. For instance, the American School of Bangkok and the International School of Bangkok both have followed those in America. I will address more about these schools in Part 1.2, which may be of interest to some of you teachers in the U.S.
     While many parents in LA who can afford it prefer private schools, Bangkok private schools are not necessarily popular nor desirable for that matter. Having said that, it also depends on the education levels.
     For smaller kids (grades 1-6), parents prefer private schools to public schools. Their curricula are quite different. Private schools seem to have more rigorous curricula and students have more choices in terms of classes to take. Mostly students who go to a private school start studying English at an early age and will usually continue through college.
     On the other hand, at the secondary level, public schools are somewhat more popular. This is perhaps in part due to the fact that reputable public schools in Bangkok are highly competitive--not every student can get in.
     Although now some students living in the same district in which the school is located may be able to get in through ruffle drawing, most students take an entrance exam to secure a seat in the school. It's quite competitive.
     Now, let’s talk about Thai students and teachers. On average, Thai students spend a lot of time at school. For instance, a high school student can spend up to eight hours a day at school. Students are usually subject to many courses. Often times, they also have many program options. For example, some schools ask their students to choose a program as early as 7th grade.
     It is also common that high school students already have the academic program of their choice picked out before they even start high school. These programs are believed to help tailor students to enter college and transition into their academic major in a seamless manner.
     For example, a high school math-science program is supposed to help students better prepare for programs like medicine, dentistry, science, and engineering in college. (In Thailand, high school students can apply for medical, dental, vet schools directly without having to first complete their four years in college. They will, however, spend six years in these programs.)
     By the way, the college math-science-oriented majors don't accept students without a background from the high school math-science programs. This means that if you choose a language program in high school concentrating on English and French, they you might as well forget about becoming a physician.
     Now for Teachers in Thailand, like their American peers, they work very hard and are dedicated to their job and students. Yet their earning is quite low. It is not uncommon to find these teachers, especially in a big city like Bangkok, to have a second job. They tend to work as a private tutor after school hours, or even on weekends. More on tutoring in Part 2.
     For our next post, I will address more about the international schools and some new programs in both public and private schools called “international program”, “bilingual program”, etc. These programs have recently seen more support and interest from both the public and the government.
     Till then, take care.

Monday, April 4, 2011

Project-Based Learning Part III: หนึ่งในรูปแบบการเรียนการสอนที่มีผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ตอนที่ 3

สวัสดีค่ะ กลับมาพบกันอีกครั้งนะคะ สำหรับวันนี้เราจะมาเสวนากันต่อค่ะเกี่ยวกับเรื่องของการเรียนรู้แบบ PBL หรือ Project-Based Learning ซึ่งทางทีมงานวิชาการของ KDG Education ก็ได้คุยกับคุณผู้อ่านกันมาแล้วถึงสองตอนด้วยกัน สำหรับบทความตอนนี้จะเป็นตอนจบค่ะ

ในสองตอนแรก ทางทีมงาน KDG Education ก็ได้แนะนำการเรียนรู้ในรูปแบบ PBL และกล่าวถึงหลักการ RAFT ด้วย นอกจากนี้เรายังได้เสวนากันไปแล้วเกี่ยวกับการจัดหาหรือสร้าง มาตรฐานกำลัง (power standards) ซี่งเป็นหัวใจที่สำคัญอย่างหนึ่งของการเรียนการสอนแบบ PBL ให้ประสบความสำเร็จค่ะ

ในตอนนี้ เราจะมาคุยกันต่อในเรื่องของการประเมินผลของการเรียนรู้แบบ PBL ของผู้เรียนตามมาตรฐานกำลังที่สร้างไว้ค่ะ

ก่อนอื่นที่เราจะคุยกันในรายละเอียดของลักษณะและรูปแบบการประเมินผลสำหรับ PBL นั้น ทางทีมงาน KDG Education อยากจะทำความเข้าใจกับคุณผู้อ่านก่อนว่า การประเมินผลการเรียนรู้ที่จะประสบผลสำเร็จ คือการประเมินจากการเรียนการสอนเกิดขึ้นจริงและประเมินตามมาตรฐานที่ตั้งไว้เท่านั้นค่ะ ซึ่งปัจจัยข้อนี้เป็นสิ่งที่ทางทีมงาน KDG Education เชื่อว่าท่านอาจารย์ผู้สอนและนักการศึกษาต้องตระหนักอยู่เสมอ หากการประเมินผลทำไปโดยไม่ตรงกับการเรียนการสอนที่เกิดขึ้น จะมีปัญหาตามมาภายหลังแน่นอนค่ะ เพราะการประเมินผลนั้นจะเป็นการประเมินผลที่ไม่ตรงตามความเป็นจริง ตัวอย่างง่าย ๆ ที่เราอาจจะเคยได้ยินกันบ้างก็คือ การที่นักเรียนบ่นว่าข้อสอบออกไม่ตรงกับที่อาจารย์สอน นั่นแหละค่ะคือการประเมิน (ตัวข้อสอบ) ที่ไม่ตรงกับการเรียนการสอนที่เกิดขึ้นจริง (สิ่งที่อาจารย์สอนในชั้นเรียน) ทำให้อาจารย์ผู้สอนไม่สามารถวัดผลการเรียนรู้ของผู้เรียนได้อย่างถูกต้อง และทำให้ไม่สามารถประเมินการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สำหรับรูปแบบของการประเมินผลที่เหมาะสมสำหรับการเรียนรู้ในรูปแบบ PBL นั้นมีสองแบบค่ะ คือ

1. การประเมินผลแบบต่อเนื่อง (formative assessement)
2. การประเมินผลแบบรวบยอด (summative assessment)

การประเมินผลทั้งสองรูปแบบนี้มีความสำคัญและเกี่ยวข้องกันอย่างมากค่ะสำหรับการเรียนรู้แบบ PBL

การประเมินผลแบบต่อเนื่อง (formative assessment) จะช่วยให้ผู้เรียนได้รับข้อเสนอแนะหรือผลสะท้อนกลับมา (feedback) จากอาจารย์ผู้สอนได้อย่างสม่ำเสมอและมีประสิทธิภาพ การประเมินผลแบบต่อเนื่องนี้มีความสำคัญมากนะคะสำหรับการเรียนรู้ เพราะเป็นปัจจัยสำคัญอันหนึ่งที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาศักยภาพของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สำหรับรูปแบบของการประเมินผลแบบต่อเนื่องนี้ ที่จริงก็ทำได้หลายแบบค่ะ โดยทั่วไปรูปแบบที่เราคุ้นเคยกันก็มักจะเป็นการสอบย่อย (quizzes) และการทำแบบฝึกหัด (practice exercises) แต่นอกเหนือจากการสอบย่อยและการทำแบบฝึกหัดแล้ว การประเมินผลแบบต่อเนื่องก็ยังรวมไปถึงการทำกิจกรรมในรูปแบบต่าง ๆ ด้วยค่ะ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการเรียนรู้แบบ PBL อาจารย์บางท่านอาจจะถามว่าการทำกิจกรรมแบบต่าง ๆ นั้นจะให้คะแนนได้อย่างไรนอกเหนือไปจากการให้คะแนนการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม คำตอบคือได้ค่ะ นั่นก็คือการใช้ rubrics เข้ามาช่วยในการกำหนดมาตรฐานการให้คะแนน (เนื่องจากเราไม่มีเนื้อที่พอที่จะมาอภิปรายกันถึงการใช้ rubrics ประกอบการเรียนการสอนอย่างประสิทธิภาพในบทความนี้ ทางทีมงาน KDG Education ขออนุญาตเปิดประเด็นเสวนาเกี่ยวกับการใช้ rubrics ในการเรียนการสอนในครั้งต่อ ๆ ไปแล้วกันนะคะ ต้องติดตามกันค่ะ)

ยิ่งไปกว่านี้การทำกิจกรรมย่อย ๆ ในห้องเรียน เช่น การเปิดประเด็นถามตอบ ให้เป็นส่วนหนึ่งของการทำโครงการตามแบบ PBL โดยใช้ระบบคลิ๊กเกอร์ หรือ CPS (Classroom Performance System) ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ทำได้ และทำได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยค่ะ ตัวผู้เรียนเองก็จะรู้สึกได้ว่าตัวเองได้ทำกิจกรรมที่สนับสนุนและพัฒนาการเรียนรู้ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ และมีส่วนร่วมในการเรียนรู้แบบ PBL ตรงตามลักษณะของการเรียนรู้แบบมีผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง สำหรับอาจารย์ผู้สอนเองก็จะมีวิธีการหลากหลายรูปแบบที่จะนำมาใช้กับการประเมินแบบต่อเนื่องและมีอุปกรณ์ใช้เก็บข้อมูลของผู้เรียนทำให้นำมาใช้ในการประเมินได้อย่างเหมาะสมค่ะ

ในขณะเดียวกัน การเรียนรู้แบบ PBL จะประสบผลสำเร็จมากที่สุด เมื่ออาจารย์ผู้สอนผนวกการประเมินผลแบบรวบยอด (summative assessment) เข้าไปด้วยค่ะ เพราะการประเมินแบบรวบยอดนั้นจะช่วยให้อาจารย์ผู้สอนประเมินได้ว่าผู้เรียนนั้นได้เรียนรู้ไปมากน้อยแค่ไหน ลึกซึ้งอย่างไร เรียกว่าเป็นการประเมินที่ความสามารถและประสิทธิภาพของผู้เรียนนั่นเองค่ะ

การวัดผลของการเรียนรู้แบบ PBL นั้นก็ควรให้สัดส่วนของการประเมินผลแบบรวบยอดมีมากกว่าสัดส่วนของการประเมินผลแบบต่อเนื่องค่ะ เนื่องจากว่าหากเราให้สัดส่วนของการประเมินแบบต่อเนื่องมากเกินไป ผู้เรียนอาจจะไม่ตระหนักถึงการเรียนรู้เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างสูงสุด เพราะอาจจะคิดว่าหาก "การทำงาน" หรือ "การร่วมกิจกรรม" ที่เป็นส่วนหนึ่งของการประเมินแบบต่อเนื่องแล้ว คะแนนเก็บก็จะมีมากพอและจะสามารถผ่านวิชานั้น ๆ ได้โดยที่ไม่จำเป็นต้องเรียนรู้ให้ลึกซี้ง ซึ่งหากผู้เรียนคิดแบบนี้แล้ว การเรียนการสอนก็จะไม่สัมฤทธิ์ผลค่ะ คือผู้เรียนจะคิดแบบ "เรียนแค่ผ่าน"

ดังนั้นอาจารย์ผู้สอนจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำให้ผู้เรียนตระหนักว่าผู้เรียนจำเป็นต้องใช้ feedback ที่ได้มาจากการประเมินแบบต่อเนื่อง มาพัฒนาการเรียนรู้ของตัวเองให้ได้เกิดศักยภาพมากที่สุด เพื่อที่ตัวเองจะได้แสดงความสามารถและประสิทธิภาพของตนได้อย่างเต็มที่สำหรับการประเมินแบบรวบยอดในแต่ละครั้ง หากอาจารย์ผู้สอนและผู้เรียนท่านใดที่ดำเนินการเรียนการสอนแบบ PBL โดยมีการทำโครงการ นำเสนอ และประเมินผล โดยยึดถือปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวที่ทีมงาน KDG Education ได้อภิปรายไว้แล้วในบทความทั้งสามตอนนี้ ทางทีมงานเชื่อเป็นอย่างยิ่งค่ะว่ารายวิชาของอาจารย์จะประสบความสำเร็จในการจัดการเรียนรู้ในลักษณะที่มีผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และผู้เรียนในชั้นเรียนของท่านจะสามารถพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของพวกเขาตามมาตรฐานที่ตั้งไว้ค่ะ

และอีกครั้งนะคะ หากคุณผู้อ่านท่านใดมีคำถาม อยากได้ข้อมูลเพิ่มเติม หรือต้องการได้รับคำปรึกษาเกี่ยวกับการใช้ อุปกรณ์ระบบ CPS ในชั้นเรียนในรูปแบบ PBL หรือรูปแบบอื่น ๆ รวมถึงการจัดรูปแบบการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับชั้นเรียนและสถาบันของท่าน โปรดติดต่อ ทีมงาน KDG Education ได้ทุกเมื่อค่ะ ทางเรายินดีช่วยเหลือท่านอย่างเต็มที่

สำหรับวันนี้ ทางทีมงานวิชาการของ KDG Education ขอลาไปก่อน กลับมาพบกันใหม่ในบทความตอนหน้าค่ะ ส่วนเนื้อหาจะเป็นเรื่องอะไร ทางทีมงานขออุบไว้ก่อน แล้วเจอกันใหม่ สวัสดีค่ะ

Friday, March 18, 2011

Project-Based Learning Part II: หนึ่งในรูปแบบการเรียนการสอนที่มีผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ตอนที่ 2

สวัสดีค่ะ กลับมาพบกันอีกครั้งนะคะสำหรับตอนนี้เป็นบทความที่ 3 แล้วสำหรับเดือนมีนาคม ทางทีมวิชาการ KDG Educaiton ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าคุณผู้อ่านคงจะหาประโยชน์ได้จากบทความที่เรานำเสนอไม่มากก็น้อยนะคะ แล้วก็เช่นเคยค่ะ หากคุณผู้อ่านท่านได้อ่านแล้วเกิดคำถาม หรือต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติม กรุณาติดต่อทีมงานของเราได้โดยตรงเลยนะคะ

สำหรับบทความตอนที่ 2 สำหรับเรื่องของการเรียนรู้แบบ PBL (Project-Based Learning) นี้ เราก็จะมาเสวนากันต่อถึงเรื่องที่ถือว่าสำคัญมากเรื่องหนึ่งของการดำเนินการเรียนการสอนแบบนี้ค่ะ นอกเหนือจากการสร้างรูปแบบที่ดีตามหลักการ RAFT (Role | Audience | Format | Topic) ดังที่ได้เสนอไปแล้วในบทความตอนที่ 1 นั้น อาจารย์ผู้สอนจำเป็นต้องจัดหาหรือสร้างมาตรฐานการเรียนรู้ที่เหมาะสมสำหรับการเรียนรู้แบบ PBL ค่ะ หากอาจารย์ไม่จัดหาหรือสร้างมาตรฐานที่เหมาะสม การเรียนการสอนแบบที่ว่าก็จะไม่ประสบผลสำเร็จอย่างที่ตั้งใจไว้ค่ะ เนื่องจากว่าการที่ไม่มีมาตรฐานที่เหมาะสม ที่วัดได้ ตั้งแต่ต้น ผู้เรียนก็จะไม่ทราบว่าสิ่งที่ตัวเองทำไปนั้น ถูกต้องเหมาะสมหรือไม่ ผู้สอนก็จะไม่สามารถวัดและประเมินการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนได้ค่ะ

การเรียนรู้แบบ PBL ที่จะได้ผลดี ควรจะเป็นการเรียนรู้แบบลึกค่ะ ไม่ใช่แค่ครอบคลุมเนื้อหาในระดับผิวเผิน เพราะการเรียนรู้แบบนี้จะเกิดความสำเร็จได้ก็ต่อเมื่ออาจารย์ผู้สอนสามารถประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนในเชิงลึกได้และบ่งบอกได้ว่าผู้เรียนได้พัฒนาทักษะการเรียนรู้หรือองค์ความรู้ไปมากน้อยแค่ไหนอย่างแท้จริงค่ะ สำหรับตัวผู้เรียนเองก็จะทราบได้ว่าต้องมีทักษะการเรียนรู้หรือองค์ความรู้ใดบ้างที่ตนเองจะต้องพัฒนาและเรียนรู้ในเชิงลึกได้ด้วยค่ะ

ในส่วนของมาตรฐานที่จะจัดให้เข้ากับการเรียนรู้แบบ PBL นี้ ทางทีมงานอยากใช้คำว่า มาตรฐานกำลัง หรือ Power Standards เพราะว่ามาตรฐานดังกล่าวไม่ควรจะเป็นมาตรฐานทั่ว ๆ ไป ไม่มีความชัดเจน ทำให้ทำการประเมินผลได้ยาก แต่มาตรฐานกำลังควรจะมีสมบัติดังนี้ค่ะ

1. เป็นมาตรฐานที่สอดคล้องกับหลักสูตรที่ทางสถานศึกษากำหนด
2. เป็นมาตรฐานเชิงลึกมากกว่าเชิงกว้าง
3. เป็นมาตรฐานที่ครอบคลุมทักษะที่สำคัญในศตวรรษที่ 21
4. เป็นมาตรฐานที่วัดได้ ประเมินได้

ทางทีมงาน KDG Education คิดว่าสมบัติข้อ 1 น่าจะเป็นคำอธิบายในตัวเองอยู่แล้ว สำหรับสมบัติข้อ 2 คือเป็นมาตรฐานเชิงลึกมากกว่าเชิงกว้าง อาจารย์บางท่านอาจจะยังไม่เห็นภาพ หรือบางท่านอาจจะแย้งว่า หากเราใช้เวลาในการเรียนอันจำกัดไปกับเรียนรู้ตามมาตรฐานเชิงลึก ก็จะทำให้ไม่มีเวลาพอที่จะครอบคลุมมาตรฐานอื่น ๆ ได้ทุกจุด เหมือนกับเวลาสอน หากเราสอนเป็นบางเรื่องแบบลึก ๆ ก็จะทำให้เราไม่มีเวลาพอที่จะครอบคลุมเนื้อหาที่กำหนดได้ทั้งหมด ปัญหานี้เป็นปัญหาครอบจักรวาลค่ะ คืออาจารย์ผู้สอนที่ไหน ๆ ก็จะรู้สึกแบบนี้ แต่วิธีการที่จะแก้ปัญหานี้ได้ในระดับหนึ่งคือ อาจารย์ต้องพิจารณาจากหลักสูตรว่าหลักสูตรต้องการอะไร เพราะเวลาอันจำกัด เราจำต้องให้ความสำคัญกับมาตรฐานไม่เท่ากันค่ะ ซึ่งการกำหนดความสำคัญของมาตรฐานก็จะต้องทำกันในระดับสถานศึกษาหรือกระทั่งใหญ่กว่านั้น เมื่อเราทราบระดับความสำคัญของมาตรฐานการศึกษาที่เราตั้งไว้แล้ว เราก็สามารถที่จะเลือกมาตรฐานที่สำคัญ ๆ บางมาตรฐานมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับการเรียนแบบ PBL โดยเน้นการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนตามมาตรฐานนั้น ๆ ในเชิงลึกค่ะ

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ได้หมายความว่ามาตรฐานอื่น ๆ ที่เรากำหนดให้มีความสำคัญลดหลั่นกันไปจะไม่สามารถมามีบทบาทเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้แบบ PBL ได้เลยนะคะ จริง ๆ แล้วการเรียนรู้แบบ PBL ก็สามารถครอบคลุมมาตรฐานรองอื่น ๆ ได้ค่ะ เพราะเวลาผู้เรียนดำเนินและนำเสนอโครงการ จะมีบ่อยครั้งที่ผู้เรียนก็จะต้องพัฒนาทักษะตามมาตรฐานรองเช่นกันค่ะ แต่เวลาอาจารย์ประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนตามมาตรฐาน หากมาตรฐานนั้นเป็นมาตรฐานรอง อาจารย์ก็ไม่จำเป็นต้องไปเน้นความสำคัญกับมาตรฐานนั้น ๆ มากจนเกินไปค่ะ เพราะอาจารย์ได้มีมาตรฐานกำลังหลัก ๆ ที่จะต้องเน้นให้ความสำคัญเป็นพิเศษอยู่แล้ว

สำหรับสมบัติข้อ 3 คือเป็นมาตรฐานสำหรับทักษะที่สำคัญในศตวรรษที่ 21 ทาง Edutopia ได้ให้คำแนะนำไว้ค่ะว่า ทักษะเหล่านี้ควรจะเป็นอะไรบ้าง ซึ่งก็คือ ทักษะการทำงานร่วมกัน (collaboration) ทักษะการนำเสนอผลงาน (presentation) และ ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (critical thinking) สำหรับทางทีมงาน KDG Education อยากจะเติมไว้อีกหนึ่งทักษะซึ่งนั่นก็คือ ทักษะการใช้เทคโนโลยีให้เหมาะสม (using technology) โดยเฉพาะทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่นับวันก็จะเพ่ิมบทบาทและความสำคัญในสังคมจริงและสังคมเสมือน (virtual society) อยู่ทุกวันนี้ค่ะ

ส่วนสมบัติข้อ 4 คือเป็นมาตรฐานที่วัดได้ ประเมินตามได้ ตรงนี้สำคัญมากค่ะ เพราะหากมาตรฐานที่ตั้งขึ้นมาไม่สามารถวัดได้ประเมินได้ หรือทำได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ผู้สอนก็จะประเมินผู้เรียนไม่ตรงเป้า ไม่เข้าประเด็น และจะส่งผลให้ผู้เรียนไม่สามารถทราบได้ว่าตนเองควรจะต้องได้รับการพัฒนาอะไร พัฒนาอย่างไร ดังนั้นมาตรฐานต่าง ๆ ที่หามาต้องวัดได้ ประเมินได้ค่ะ ส่วนหัวข้อถัดไปที่เกี่ยวกับการประเมินผลการเรียนรู้ตามมาตรฐานในรูปแบบไหน อย่างไร ให้เหมาะกับการเรียนการสอนแบบ PBL ทางทีมวิชาการ KDG Education ก็จะกลับมาพูดคุยกับคุณผู้อ่านเกี่ยวกับหัวข้อนี้ในบทความตอนหน้านะคะ

สำหรับวันนี้ทางทีมงานขอลาไปก่อน แล้วพบกันใหม่ตอนหน้าค่ะ สวัสดีค่ะ

Tuesday, March 8, 2011

Project-Based Learning Part I: หนึ่งในรูปแบบการเรียนการสอนที่มีผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ตอนที่ 1

สวัสดีค่ะ ทีมงานวิชาการของ KDG Education ก็กลับมาพบกับคุณผู้อ่านกันอีกแล้วนะคะสำหรับเดือนมีนาคมนี้ ตอนนี้ดิฉันก็มีข่าวดีจะแจ้งให้คุณผู้อ่านทราบว่าคณะบรรณาธิการของเราได้ลงมติว่าเราจะพยายามให้มีบทความดี ๆ น่าสนใจมานำเสนอคุณผู้อ่านถึงสี่ครั้งต่อเดือน ยังไงก็ลองติดตามกันดูนะคะ


สำหรับบทความตอนนี้ อย่างที่สัญญากันไว้ เป็นเรื่องราวของการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ค่ะ โดยเนื้อหาจะเกี่ยวข้องกับรูปแบบการเรียนการสอนที่มีผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (student-centered learning) แบบหนึ่งคือ การเรียนรู้จากการทำโครงการ (project-based learning) ซึ่งต่อไปเราจะขอเรียกสั้น ๆ ว่า PBL นะคะ ลักษณะของการเรียนรู้แบบนี้จริง ๆ แล้วก็จะสอดคล้องกับประเด็นของกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ TQF ในระดับมหาวิทยาลัยด้วยค่ะ เพราะหัวใจสำคัญส่วนหนึ่งของ TQF ก็คือการพัฒนาผู้เรียนในรูปแบบที่มีผู้เรียนเป็นศูนย์กลางนั่นเอง


ไม่เฉพาะแต่ในระดับมหาวิทยาลัยหรอกนะคะ การเรียนรู้แบบ PBL นี้ก็ยังสามารถนำไปใช้ได้กับนักเรียนในระดับมัธยมหรือกระทั่งประถมศึกษาเช่นกัน


หัวใจของการเรียนรู้แบบ PBL มีหลักการมาจากคำ ๆ นี้ค่ะ RAFT ซึ่งเป็นวิธีการสอนที่อาจารย์สามารถใช้ได้กับหลาย ๆ วิชา ในบทเรียนที่สามารถใช้กิจกรรมประกอบได้ ซึ่งการเรียนรู้ตามลักษณะของ TQF นั้นก็จะเน้นการเรียนการสอนที่มีกิจกรรมประกอบอยู่แล้ว เพราะจะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ฝึกจริงทำจริงค่ะ ดังนั้นการใช้ PBL ในวิชาที่อาจารย์สอน ก็ย่อมเป็น win-win situation ก็ว่าได้ค่ะ สำหรับคำว่า RAFT นี้นะคะก็ย่อมาจาก


✐ Role: นั่นก็คือบทบาทค่ะ ในโครงการหนึ่ง ๆ อาจารย์จะต้องให้ผู้เรียนสามารถเลือกบทบาทของตัวเองได้ในโครงการนั้น ๆ โดยบทบาทนี้ก็จะมีทั้งบทบาทเฉพาะตัวและบทบาทในส่วนของการทำงานเป็นกลุ่ม สมมตินะคะว่าอาจารย์ตั้งโครงการขึ้นมาในวิชาภาษาอังกฤษ ให้ผู้เรียนเขียนบทความบนอินเตอร์เนตจากข้อมูลที่ได้มาจากการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับความสำคัญของการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน โดยบทความนี้ก็ต้องเขียนเป็นภาษาอังกฤษ ดังนั้นบทบาทที่ผู้เรียนจะสามารถเลือกทำได้ก็มีเยอะแยะค่ะ เช่น เป็นผู้เขียน เป็นบรรณาธิการ เป็นผู้ออกสำรวจ ฯลฯ


✐ Audience: นั่นก็คือผู้รับสื่อค่ะ ผู้เรียนต้องเลือกผู้รับสื่อให้เหมาะกับบทบาทของตัวเอง เช่น บทบาทของผู้เขียนและบรรณาธิการก็จะมีผู้รับสื่อเป็นเพื่อนนักเรียนและคณาจารย์ที่จะเข้ามาอ่านบทความที่จะเขียนขึ้น หรือบทบาทของผู้สำรวจก็อาจจะเป็นกลุ่มผู้ปกครองที่ทำงานแล้วและใช้ภาษาอังกฤษได้บ้าง


✐ Format: รูปแบบค่ะ เป็นรูปแบบที่ผู้เรียนจะใช้นำเสนอโครงการของตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด อย่างเช่น การนำเสนอเป็นหน้าเว็บ การนำเสนอโดยสิ่งพิมพ์ หรือกระทั่งการนำเสนอแบบ multimedia ฯลฯ


✐ Topic: หัวข้อค่ะ อาจารย์ต้องกำหนดหัวข้อให้ผู้เรียนเลือกในการทำโครงการ โดยหัวข้อนี้ก็ควรมีตัวเลือกที่ไม่จำกัดจนเกินไปค่ะ และควรเป็นหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา วัตถุประสงค์ และผลการเรียนรู้ของรายวิชานั้น ๆ ด้วยค่ะ


อาจารย์ผู้สอนที่อ่านมาถึงตรงนี้คงจะเห็นแล้วว่า วิธีการเรียนการสอนแบบ PBL ที่ยึดกับหลักการ RAFT เป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยให้ผู้เรียนได้สร้างผลการที่เป็นชิ้นเป็นอันโดยใช้ความรู้ความสามารถที่สั่งสมมา วิธีการนี้ยังจะเป็นการช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนได้รู้จักคิด พินิจพิจารณา แสดงความคิดเห็น และเลือกวิธีการที่จะดำเนินโครงการของตนให้ประสบความสำเร็จได้ด้วยดี นอกจากนี้การเรียนการสอนแบบ PBL ยังจะเป็นส่วนช่วยให้ผู้เรียนได้ตระหนักถึงความสัมพันธ์ของสิ่งที่ตนเองกำลังเรียนรู้อยู่กับชีวิตจริงที่เกี่ยวข้องกับตัวเอง ทำให้ผู้เรียนเกิดความอยากเรียนรู้อยากพัฒนามากยิ่งขึ้นเพราะเล็งเห็นความเกี่ยวเนื่องของบทเรียนผ่านการทำโครงการไปยังโลกในความเป็นจริงค่ะ ไม่ใช่เป็นแค่การเรียนเพื่อเก็บเอาไว้ขึ้นห้ิงเฉย ๆ


สำหรับบทความตอนหน้า เราจะมาพูดกันถึงเรื่องของ PBL กันต่อค่ะ เพราะสิ่งที่ทีมงาน KDG Education จะนำเสนอในตอนต่อไปนั้นจะเป็นสิ่งหนึ่งที่ท้าทายสำหรับผู้สอน นั่นก็คือการตั้งมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาหลักสูตร (set power standards) และการประเมินผลของผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ (effective assessment) ซึ่งอาจารย์สามารถนำอุปกรณ์ CPS เข้าไปช่วยได้จากการทำโครงการในรูปแบบการเรียนรู้ PBL ค่ะ


สำหรับเนื้อหาในตอนนี้ ทางทีมงานขอขอบคุณองค์กร Edutopia ที่เอื้อเฟื้อสาระในส่วนหนึ่งค่ะ วันนี้ทางทีมงาน KDG Education ขอลาไปก่อน พบกันใหม่ตอนหน้าค่ะ สวัสดีค่ะ

Wednesday, March 2, 2011

A New Clicker: อุปกรณ์ระบบ CPS Spark ของ eInstruction

สวัสดีคุณผู้อ่านทุกท่านนะคะสำหรับข่าวสารเดือนมีนาคมของเรา นี่ก็ปาเข้าไปเดือนสามของปี 2554 แล้วค่ะ เวลาช่างผ่านไปรวดเร็วเหลือเกิน สำหรับคุณผู้อ่านที่อยู่ในแวดวงการศึกษา ตอนนี้หลาย ๆ ท่านก็คงจะกำลังยุ่ง ๆ กันอยู่เพราะใกล้จะปิดเทอมแล้ว ไหนจะต้องออกข้อสอบ ตรวจข้อสอบ ตัดเกรด ฯลฯ แต่หลังจากนี้ไปก็จะเป็นช่วงพักร้อนค่ะ ก็ขอให้คุณครูและอาจารย์ทุกท่านได้พักผ่อนหย่อนใจกันเต็มที่ เป็นการเตรียมพร้อมกับการเรียนการสอนที่จะเริ่มขึ้นใหม่ในภาคการศึกษาหน้า ในช่วงนี้หากคุณครูอาจารย์ท่านใดเตรียมวางแผนที่จะใช้อุปกรณ์คลิ๊กเกอร์หรือระบบ Classroom Response System (CPS) หรือกระทั่งเทคโนโลยีสารสนเทศน์ใหม่ ๆ อย่างเช่น Web 2.0 tools เข้ามาพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนในชั้นเรียนของท่าน ขอให้ได้ติดต่อเข้ามายัง ทีมงาน KDG Education ได้ทันทีเลยนะคะ ทางทีมงานของเราจะยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะให้คำปรึกษาแก่ท่าน

สำหรับอาจารย์มหาวิทยาลัย นอกจากงานวิจัยและการเตรียมการเรียนการสอนตามปกติในช่วงปิดเทอม อาจารย์หลาย ๆ ท่านคงจะเตรียมพร้อมกับ กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา ของสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.) หรือที่รู้จักกันในชื่อของ TQF เช่นกันสำหรับภาคการศึกษาใหม่ที่จะถึงนี้ ทางทีมงาน KDG Education ก็มีข่าวสารข้อมูลมาแบ่งปันค่ะ เป็นข้อความจาก ดร.รัตนา มากี ผู้เชี่ยวชาญด้าน TQF ท่านหนึ่ง ซึ่งมีบล็อกที่ประกอบไปด้วยบทความดี ๆ เกี่ยวกับการจัดเตรียมทั้งทางด้านเอกสารและความเข้าใจกับระบบ TQF ค่ะ หากท่านผู้อ่านที่เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยท่านใดสนใจ ทางทีมงาน KDG Education ก็ขอเชิญให้ท่านติดตามบทความของ ดร.รัตนา ได้ตามลิงค์ที่ให้ไว้ค่ะ

หลาย ๆ หลักสูตรอาจจะทำงานเอกสาร มคอ. 2 และ มคอ. 3 เสร็จลุล่วงไปแล้ว ตอนนี้ก็คงจะเตรียมบทเรียนที่จะสอนให้เข้ากับเอกสารที่เตรียมไว้ ทางทีมงาน KDG Education จึงอยากจะเรียนให้อาจารย์ทราบว่า นอกเหนือจากการเตรียมเอกสาร บทเรียน และวิธีการสอนแบบต่าง ๆ แล้ว การใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีทางการศึกษาในชั้นเรียนอย่างเช่น อุปกรณ์คลิ๊กเกอร์ ก็จะช่วยท่านได้อย่างมากในการดำเนินการเรียนการสอนในรูปแบบที่มี ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (student-centered learning) รวมถึงการเก็บคะแนนและข้อมูลต่าง ๆ ที่บ่งถึงพัฒนาการทางด้านการเรียนรู้ของนักเรียนนักศึกษา ซึ่งท่านจะสามารถเตรียมเอาไว้ใช้ได้สำหรับเอกสาร มคอ. 5 และกระทั่ง มคอ. 7 ในลำดับถัดไป ดังนั้นหากอาจารย์หรือผู้บริหารหลักสูตรและสถาบันท่านใดอยากทราบรายละเอียดเพ่ิมเติมเกี่ยวกับ อุปกรณ์ CPS ทางทีมงาน KDG Education จะมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะให้คำปรึกษาและรายละเอียดเพ่ิมเติมเกี่ยวกับอุปกรณ์และการใช้อุปกรณ์ชนิดนี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดค่ะ

และในขณะนี้ทางบริษัท KDG Education ก็จะกำลังนำอุปกรณ์ CPS ระบบใหม่ล่าสุดจาก eInstruction ประเทศสหรัฐอเมริกาเข้ามาสู่ระบบการศึกษาไทยค่ะ ซึ่งกำลังจะออกสู่ตลาดที่สหรัฐในเดือนมีนาคมนี้ สำหรับในประเทศไทย คาดว่าบริษัท KDG Education จะสามารถนำเข้าสินค้ารุ่นนี้ได้อีกไม่ช้านี้ค่ะ อุปกรณ์ชิ้นใหม่นี้เรียกว่าอุปกรณ์ CPS Spark ซึ่งจะว่าไปแล้วก็คล้าย ๆ กับเป็นลูกผสมระหว่างอุปกรณ์ CPS IR และ CPS Pulse ค่ะ คือจะใช้งานได้คล้าย ๆ กับอุปกรณ์ CPS Pulse เพราะว่าใช้สัญญาณคลื่นความถี่วิทยุเช่นกัน ทำให้ใช้กับชั้นเรียนขนาดใหญ่ได้และใช้กับผู้เรียนได้มากมายหลายคน แม้ว่าการกดตอบจะทำได้ไม่มากแบบเท่ากับ CPS Pulse แต่ราคาจะถูกลงมากว่า CPS Pulse ค่ะ หากอาจารย์หรือผู้บริหารท่านใดสนใจ อยากได้รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ CPS Spark ติดต่อสอบถามมายัง ทีมงาน KDG Education ได้ทันทีเลยค่ะ
อุปกรณ์ CPS Spark
สำหรับข่าวสารฉบับนี้ ทางทีมงาน KDG Education ขอลาไปก่อน ฉบับหน้า เรากลับมาพบกับบทความที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 กันค่ะ ซึ่งจะไปสอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ TQF ในระดับมหาวิทยาลัยด้วย และก็ยังเหมาะสมสำหรับการนำไปใช้ในระดับมัธยมหรือกระทั่งประถมศึกษาเช่นกัน เราจะมาดูด้วยว่าอาจารย์ผู้สอนจะสามารถประยุกต์ใช้อุปกรณ์และเทคโนโลยีทางการศึกษา อย่างระบบ CPS อย่างไรให้เหมาะกับการเรียนการสอนแบบนี้ด้วยค่ะ สำหรับวันนี้ สวัสดีค่ะ

Monday, February 7, 2011

ร่วมทำกิจกรรม นำคลิ๊กเกอร์ไปใช้ ในห้องเรียน: สถาบันพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

วันนี้ทางทีมงานจะมาเล่าสู่กันฟังถึงโครงการบางส่วนที่บริษัท KDG Education ได้ดำเนินงานเกี่ยวกับการสนับสนุนการเรียนการสอนภายในห้องเรียนค่ะ

โครงการที่ว่านี้มีชื่อว่า "ร่วมทำกิจกรรม นำคลิ๊กเกอร์ไปใช้ ในห้องเรียน" โดยจะมีผู้เชี่ยวชาญจากทีมงาน KDG Education เข้าไปประสานงานกับอาจารย์ผู้สอนรายวิชา เพื่อช่วยให้อาจารย์นำอุปกรณ์ระบบคลิ๊กเกอร์หรือ Classroom Performance System (CPS) เข้าไปใช้ในห้องเรียนให้เกิดการเรียนรู้แบบที่มีผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (student-centered learning) มากที่สุด และให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชั้นเรียนได้สูงสุดค่ะ

สำหรับกิจกรรมที่จะมาเล่าสู่กันวันนี้เป็นกิจกรรมที่ทางทีมงานวิชาการของ KDG Education ร่วมกับ รศ.ดร. จิราภา วิทยาภิรักษ์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม เมื่อเดือนธันวาคมปี 2553 เพื่อนำอุปกรณ์ระบบ CPS เข้ามาประยุกต์ใช้กับกิจกรรมในชั้นเรียนภาษาอังกฤษค่ะ อ.จิราภาแจ้งว่าคาบเรียนนั้นจะเป็นหัวข้อ การนำเสนอหน้าชั้นเรียนค่ะ น้อง ๆ นักศึกษาทุกคนก็ได้รับแจกอุปกรณ์คลิ๊กเกอร์คนละหนึ่งตัว ถือเอาไว้ใช้ในการโหวต ตอบคำถาม หรือแสดงความเห็นตลอดคาบเรียนค่ะ น้อง ๆ บอกว่าสนุกมากกับการที่ได้ใช้อุปกรณ์ระบบคลิ๊กเกอร์และได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมอย่างทั่วถึง

คุณผู้อ่านลองดูรูปที่ทางทีมงานเก็บมาฝากกันนะคะ และทางทีมงาน KDG Education ต้องขอขอบพระคุณ รศ.ดร.จิราภา มาอีกครั้งที่ท่านได้กรุณาให้ทีมงานของเราได้เข้าไปมีส่วนร่วมสร้างสรรค์กิจกรรมดี ๆ สนุก ๆ และมีความหมายภายในชั้นเรียนของท่านค่ะ วันนั้นก็เรียกได้ว่าทีมงาน KDG Education ก็ได้เข้าไปทำงานกันทั้งวันเลยค่ะ และต้องขอขอบคุณน้อง ๆ นักศึกษาทุกท่านที่วันนั้นร่วมกันทำกิจกรรมอย่างตั้งใจมากค่ะ



หากอาจารย์ผู้สอนท่านใดที่สนใจอยากให้ทางทีมงานของ KDG Educaiton เข้าไปมีส่วนร่วมนำคิดกิจกรรมที่จะนำอุปกรณ์ระบบคลิ๊กเกอร์ไปใช้ในชั้นเรียนของท่านได้ ก็โปรดติดต่อทีมงานของเรานะคะที่ info@kdg-education.com ทางเราพร้อมที่จะยินดีให้บริการค่ะ

สำหรับบทความตอนนี้ ทีมงาน KDG Education ต้องขอลาไปก่อนนะคะ แล้วกลับมาพบกันใหม่สำหรับบทความตอนหน้า ส่วนบทความจะเป็นเรื่องอะไรนั้น ต้องติดตามกันค่ะ

Wednesday, February 2, 2011

เรียนภาษาออนไลน์: เรียนอย่างไรให้ถูกและดี ตอนที่ 2

สวัสดีค่ะ วันนี้เรามาต่อกันจากตอนที่แล้วนะคะ ที่ค้างไว้ตรงที่ขณะนี้เร่ิมมีอาจารย์สอนภาษาบางท่านที่ได้ลองนำ Twitter ไปใช้กับการเรียนการสอนภาษาในชั้นเรียน เป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนในชั้นได้ฝึกใช้ภาษากับเจ้าของภาษาด้วยค่ะ สำหรับภาคจบนี้ เราจะมาดูกันว่านอกจาก Twitter แล้ว คุณครู อาจารย์ และนักการศึกษาในศตวรรษที่ 21 นี้ เขาเริ่มประยุกต์ใช้เทคโนโลยีออนไลน์กันอย่างไรให้เหมาะกับการเรียนการสอนภาษานะคะ

ปัจจุบันนี้มหาวิทยาลัยหลายแห่งทั่วโลก อย่างเช่น มหาวิทยาลัย Emory ในมลรัฐจอร์เจีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้สร้างคลังความรู้ไว้ในรูปแบบของบทเรียนภาษาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาจีนกลาง ภาษาญี่ปุ่น ภาษาอาหรับ หรือกระทั่งภาษาที่คนไม่ค่อยรู้กันมากอย่าง ภาษาอินเดียนแดง เอาไว้บน iTunes U ซึ่งเป็นส่วนการศึกษาของร้านดนตรีออนไลน์ iTunes นั่นเอง บทเรียนภาษาเหล่านี้คุณผู้อ่านที่สนใจสามารถดาวน์โหลดได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น มหาวิทยาลัย Emory ได้ประมาณเอาไว้ว่าตอนนี้มีผู้สนใจจากทั่วโลกได้มาดาวน์โหลดไฟล์บทเรียนภาษาต่าง ๆ ไปแล้วถึงกว่า 10 ล้านไฟล์ นับตั้งแต่ปี 2007 ซึ่งเป็นปีที่มหาวิทยาลัย Emory ได้เร่ิมสร้างคลังความรู้และให้บริการทาง iTunes U
บทเรียนที่เป็นที่นิยมอย่างสูง มีผู้เข้ามาดาว์นโหลดมากมาย ได้แก่บทเรียนที่มีทั้งส่วนของ audio และ video ผสานเข้าไว้ด้วยกันอย่างเหมาะสม บทเรียนเหล่านี้จริง ๆ แล้วไม่ใช่บทเรียนที่ทางมหาวิทยาลัยสร้างไว้ให้คนภายนอกเลย หากแต่เป็นบทเรียนที่คณาจารย์ของทางมหาวิทยาลัยสร้างไว้เพื่อให้นักศึกษาในชั้นเรียนของตนเข้ามาเรียนรู้เพิ่มเติม เป็นกิจกรรมเสริมหลักสูตรต่างหาก ซึ่งทางมหาวิทยาลัยคาดการณ์ว่า ผู้สนใจที่เข้ามาดาวน์โหลดไฟล์เหล่านี้ไปใช้นั้นคงจะไม่ใช่ผู้ที่เรียนภาษาอย่างผิวเผิน แต่น่าจะเป็นนักเรียนนักศึกษาจากที่อื่นที่เรียนวิชาเหล่านี้อยู่แล้ว หรือกระทั่งอาจจะเป็นอาจารย์จากที่อื่น ๆ ที่จะต้องสอนวิชาเหล่านี้ด้วยก็เป็นได้
นอกเหนือไปจากการที่เทคโนโลยีพวก social media เข้ามามีบทบาทกับการเรียนการสอนโดยเปิดโอกาสให้ทั้งผู้เรียนและผู้สอนได้สามารถฝึกใช้ภาษากับเจ้าของภาษาแล้ว เทคโนโลยีอย่าง iTunes U ก็ยังสามารถทำให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงบทเรียนภาษาที่ใช้เสริมทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน ได้ทุกที่ ทุกแห่ง และทุกเวลาด้วย ซึ่งข้อดีข้อนี้ทำให้ผู้เรียนที่ไม่ค่อยมีเวลาเรียนให้ห้องเรียนจริงมากนักหรือต้องใช้เวลาในการเดินทางไปเรียนไกล ๆ สามารถใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ไปกับการเรียนภาษาจากบทเรียนออนไลน์แบบนี้ได้มากที่สุดค่ะ
อย่างไรก็ดี คณาจารย์ผู้สอนภาษาหลาย ๆ ท่านต่างเสริมว่า ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีที่ทันสมัยเหล่านี้จะมีส่วนช่วยเสริมการเรียนการสอนภาษาอย่างมากในปัจจุบัน แต่ทว่าการเรียนภาษาในห้องเรียนจริงและการเก็บเกี่ยวประสบการณ์จริงในต่างประเทศก็คงเป็นสิ่งที่เทคโนโลยียังไม่สามารถแทนที่ได้
ทีมงาน KDG Education และผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาอีกหลาย ๆ ท่านก็ยังเห็นพ้องต้องกันว่า กุญแจสำคัญในการใช้เทคโนโลยีการเรียนรู้ให้เกิดผลสำเร็จตามที่ตั้งใจไว้ คือการใช้เทคโนโลยีให้ถูกต้องและเหมาะสมค่ะ ทั้งนี้เพื่อเป็นการเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้และเพิ่มศักยภาพในการเรียนรู้ของผู้เรียนให้มากที่สุด
ดังนั้นหากคุณผู้อ่านท่านใดที่สนใจจะนำเทคโนโลยีการศึกษาไปประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนภาษาให้กับนักเรียนนักศึกษาในห้องเรียนของท่าน โปรดติดต่อ KDG Education ได้ค่ะ ทางทีมงานผู้เชี่ยวชาญจาก KDG Education ยินดีที่จะช่วยให้คำปรึกษากับท่านเสมอค่ะ